เนื้อหา

 

เส้นทางของสงคราม

  

เปิดฉากความเป็นปรปักษ์ความสับสนภายในฝ่ายมหาอำนาจกลาง
ยุทธศาสตร์ของฝ่ายมหาอำนาจกลางเสียหายเพราะความผิดพลาดในการติดต่อสื่อสารกัน เยอรมนีให้คำมั่นสนับสนุนออสเตรีย-ฮังการีในการรุกรานเซอร์เบีย แต่ได้มีการตีความความหมายนี้ผิดไป แผนการจัดวางกำลังซึ่งเคยทดสอบมาแล้วในอดีตถูกเปลี่ยนใหม่ในต้น ค.ศ. 1914 แต่ยังไม่เคยทดสอบในทางปฏิบัติ ผู้นำออสเตรีย-ฮังการีเชื่อว่าเยอรมนีจะป้องกันปีกด้านทิศเหนือที่ติดกับรัสเซีย [อย่างไรก็ตาม เยอรมนีซึ่งเห็นว่าออสเตรีย-ฮังการีมุ่งส่งกำลังทหารส่วนใหญ่ต่อสู้กับรัสเซีย ขณะที่เยอรมนีจัดการกับฝรั่งเศส ความสับสนนี้ทำให้กองทัพออสเตรีย-ฮังการีต้องแบ่งกำลังเพื่อไปประจำทั้งแนวรบรัสเซียและเซอร์เบีย

การทัพแอฟริกา
การปะทะกันครั้งแรก ๆ ของสงครามเกิดขึ้นในกองทัพอาณานิคมอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีในแอฟริกา วันที่ 7 สิงหาคม กองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษรุกรานโตโกแลนด์ อันเป็นดินแดนในอารักขาของเยอรมนี วันที่ 10 สิงหาคม กองทัพเยอรมันในแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้โจมตีแอฟริกาใต้ การต่อสู้ประปรายและป่าเถื่อนดำเนินต่อไปกระทั่งสงครามสิ้นสุด กองทัพอาณานิคมเยอรมันในแอฟริกาตะวันออกของเยอรมนี นำโดยพันเอก พอล เอมิล ฟอน เลทโท-วอร์เบค สู้รบในการทัพสงครามกองโจรระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและยอมจำนนสองสัปดาห์หลังสัญญาสงบศึกมีผลใช้บังคับในยุโรป

การทัพเซอร์เบีย
กองทัพเซอร์เบียสู้รบในยุทธการเซอร์กับออสเตรีย-ฮังการีฝ่ายรุกราน เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม โดยยึดตำแหน่งป้องกันตามด้านใต้ของแม่น้ำดรินาและซาวา อีกสองสัปดาห์ถัดมา การโจมตีของออสเตรียถูกตีโต้ตอบกลับไปโดยประสบความสูญเสียอย่างหนัก นับเป็นชัยชนะสำคัญครั้งแรกของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามและทำลายความหวังของออสเตรีย-ฮังการีที่จะได้รับชัยชนะอย่างรวดเร็ว ผลคือ ออสเตรียจำต้องรักษากำลังขนาดใหญ่พอสมควรบนแนวรบเซอร์เบีย พร้อมกับลดทหารด้านรัสเซียล

กองทัพเยอรมันในเบลเยียมและฝรั่งเศส
ทหารเยอรมันในตู้รถไฟขนสินค้าขณะไปยังแนวหน้าใน ค.ศ. 1914 ข้อความบนตู้เขียนว่า "ทริปไปปารีส" ในช่วงต้นของสงครามคาดกันว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะกินเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้น กองทัพเยอรมัน อันประกอบด้วยเจ็ดกองทัพสนามในด้านตะวันตก เริ่มดำเนินการตามแผนชลีฟเฟินแบบปรับปรุง ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อโจมตีฝรั่งเศสอย่างรวดเร็วผ่านดินแดนประเทศเบลเยียมที่เป็นกลาง ก่อนจะเลี้ยวลงไปทางใต้เพื่อโอบล้อมกองทัพฝรั่งเศสตามพรมแดนเยอรมนี[ แผนการดังกล่าวกำหนดให้ปีกขวาตีมาบรรจบกันที่กรุงปารีส ซึ่งเยอรมนีประสบความสำเร็จในช่วงแรก จนถึงวันที่ 12 กันยายน ฝรั่งเศสด้วยความช่วยเหลือจากกองทัพอังกฤษหยุดยั้งการรุกของฝ่ายเยอรมนีได้ทางตะวันออกของกรุงปารีสที่ยุทธการมาร์นครั้งที่หนึ่ง (5-12 กันยายน) วันท้าย ๆ ของยุทธการนี้นำจุดจบมาสู่สงครามจรในด้านตะวันตก การรุกเข้าไปในเยอรมนีของฝรั่งเศสซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ด้วยยุทธการมุลลูส ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย   ส่วนในทางตะวันออก มีเพียงหนึ่งกองทัพสนามเท่านั้นที่ป้องกันปรัสเซียตะวันออก และเมื่อรัสเซียโจมตีพื้นท่ดังกล่าว ทำให้เยอรมนีต้องแบ่งกำลังที่เดิมตั้งใจจะส่งไปรบในแนวรบด้านตะวันตกมาป้องกัน เยอรมนีเอาชนะรัสเซียในการรบหลายครั้งซึ่งรวมรู้จักกันในชื่อ ยุทธการทันเนนแบร์กครั้งที่หนึ่ง (17 สิงหาคม - 2 กันยายน) แต่การแบ่งกำลังดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาความเร็วที่ไม่เพียงพอจากจุดสิ้นสุดทางรถไฟซึ่งเสนาธิการทหารเยอรมันไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ฝ่ายมหาอำนาจกลางไม่ได้รับชัยชนะอย่างรวดเร็วและถูกบีบให้ทำสงครามสองแนวรบ เยอรมนีสู้รบตามรายทางไปจนถึงจุดป้องกันที่ดีในประเทศฝรั่งเศสและทำให้ทหารฝรั่งเศสและอังกฤษเสียชีวิตรวมกันมากกว่าทหารเยอรมันถึง 230,000 นาย แต่แม้ว่าจะประสบความสำเร็จดังนี้แล้วก็ตาม ปัญหาการสื่อสารและการตัดสินใจบัญชาการที่ไม่แน่นอนทำให้เยอรมนีเสียโอกาสที่จะคว้าชัยชนะอย่างรวดเร็ว

เอเชียและแปซิฟิก
นิวซีแลนด์ยึดครองเยอรมันซามัว (ภายหลังชื่อ ซามัวตะวันตก) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม วันที่ 11 กันยายน กองทัพรบนอกประเทศทหารและนาวิกออสเตรเลียยกพลขึ้นบกบนเกาะนอยพอมแมร์น (ภายหลังชื่อ นิวบริเตน) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมันนิวกินี เยอรมนียึดครองอาณานิคมไมโครนีเซียของเยอรมนี และหลังจากการล้อมชิงเต่า เมืองท่าถ่านหินของเยอรมนีในคาบสมุทรชานตงของจีน ภายในไม่กี่เดือน กองทัพสัมพันธมิตรได้ยึดครองดินแดนเยอรมนีทั้งหมดในแปซิฟิก มีเพียงผู้เข้าปล้นการค้าที่โดเดียวและดินแดนส่วนน้อยในนิวกินีที่ยังเหลืออยู่